Saturday 26 March 2016

Crius MasterV VS IGH Alfine ตอนที่2

Crius MasterV VS IGH Alfine ตอนที่2

ตอนที่ 1
ตอนนี้เป็นการเริ่มใช้งานจริงเกิน500 กิโลไปแล้ว ขี่บ่อยๆไกลๆด้วยความอยากรู้ และจากการศึกษาข้อมูลอย่างแรกที่เป็นห่วงคือ ตามสเป็คเกียร์มีช่วงรันอินเหมือนรถยนต์ จะต้องเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ใหม่ตอน 500แรก เพื่อให้พวกเฟืองที่เพิ่งออกผ่านการใช้งานมันบดกันได้ที่ อาจมีเศษโลหะ หรือพื้นผิวโลหะได้สึกหรอไปพร้อมกัน จะได้ไหลทิ้งไปกับน้ำมัน แล้วใส่น้ำมันใหม่ คราวนี้อยู่ได้อีก 5000 ไมล์ ตีไปง่ายๆประมาณ 10000 กิโลเลยแต่พอสอบถามราคาทั้งจากเวบ จากร้านแล้วจะสลบ น้ำมันแท้ของชิมาโน่ ชุดละประมาณ 1000 บาท จบข่าว

สอบถามเจ้าของเดิมบอกว่าเกียร์ใช้ไปไม่ถึงสองร้อยโล แต่ทิ้งไว้ปีกว่า ควรถ่ายน้ำมันได้แล้ว ตอนนี้ผมก็วิ่งพ้นรันอินไปแล้ว รู้สึกว่ามันลื่นขึ้นทีเดียว (หรือว่าอุปทาน) เรื่องถ่ายน้ำมันเอาไว้ก่อน
ผลทดลองใช้จริง
ข้อเสียที่สังเกตได้

  • ท้ายหนัก เวลาทางขรุขะ ลงหลุมรู้สึกกระแทกมากขึ้น
  • เวลาเปลี่ยนเกียร์ ต้องหยุดปั่น พอรู้จังหวะแล้วก็ไม่มีปัญหา
  • อัตราเร่งไม่ค่อยดี ขี่แบบกระชากไม่ได้ เหนื่อย หนักขามาก
  • เวลาหมุนล้อฟรี ฝืดมาก ไม่ลื่นไหล
  • เวลาปล่อยไหล ไม่ค่อยไกล ลงสะพาน ลงเนิน หมดเร็ว
  • ไม่มีเสียงฟรี เงียบมาก ขี่แล้วเหงาๆ
  • มีเสียงแก๊กๆ เวลาปั่นบางครั้ง สะเทือนมาที่เท้า

ข้อดีที่สังเกตได้

  • ขี่แล้วสบายดี ไม่รู้สึกอะไรเลย ปั่นไปได้เรื่อยๆ โล่งๆบอกไม่ถูก
  • เปลี่ยนเกียร์ง่าย นุ่มมือ อัตราทดดี คล่องตัว
  • ขี่ทางไกล ควงขาเนียมนมากไม่ต้องใช้แรงกด แค่ยกขาขึ้นมาแล้วปล่อยลงไปก็พอ
  • แรงต้านจากเฟือง โซ่ ตีนผี หายไปหมด
  • มองแล้วสบายตา เรียบง่าย  ตอนนี้ยังใช้ตัวดันโซ่ แต่อนาคตจะถอดออก
  • ทำความสะอาดได้ง่ายกว่าเดิมเยอะ
  • อัตราทดเกียร์ 408% ใช้งานได้กว้างพอสำหรับขี่ทั้งความเร็ว และแรงบิดสำหรับขึ้นดอย


การขี่เปรียบเทียบกับชุดเกียร์ 18 สปีด
อัตราทด เป็นปัญหาใหญ่ที่กลัว ของเก่าใช้งานได้กว้าง ตอบสนองการใช้งานได้ ทั้งความเร็วสูง
ตามกลุ่มเสือหมอบก็ได้ ใช้งานลักษณะทัวริ่ง ขึ้นดอยชันๆ ก็ได้ ถึงจะหนักขากว่ารถใหญ่ แต่ก็ถือว่าไปได้
พอมาเหลือ 11 เกียร์ พอมาเป็นเหลือแค่ 11 เกียร์ เฟืองท้าย 18 ซี่ แก้ไขเปลี่ยนแปลงอัตราทดไม่ได้
แต่หาช่วงที่เหมาะสมที่สุด ต้องแก้กันที่จานหน้า ช่วงแรกมีให้ทดลอง 3 ขนาด ตั้งแต่ 53, 48, 39
เลยยังไม่ถอดสับจานหน้าออก ติดจานหน้าสองใบไปเลย
จานหน้า 53ซี่ ของเดิมติดรถ ขี่ไม่ได้ หนักมาก ใช้เกียร์ได้แค่ครึ่งเดียวไม่มีแรงกดแล้ว (ถ้าพวกล้อ14นิ้วน่าจะดี)
จานหน้า 48ซี่ อันนี้ถอดมาจาก Crius smart3 ตัวนี้ทางเรียบดี รอบขาประมาณ 90 ความเร็วแตะสี่สิบเกินสี่สิบแล้ว เกียที่ 11 ความเร็วไปได้เกือบ50 แต่หนักมาก แต่เกียร์หนึ่ง ขึ้นดอยไม่ได้แน่ แต่ขึ้นสะพานลอย สะพานสูงในเมืองสบายๆ ถ้าไม่คิดเอาไปบรรทุกของ ไต่ดอยหนักๆ ใบนี้จบแล้ว
จานหน้า 39ซี่ เล็กสุดสำหรับขาจาน 135 ถ้าจะเล็กกว่านี้ต้องจานเสือภูเขา ใบนี้จริงๆผมว่าจบแล้ว ความเร็วตีนปลายเคยไปไล่เสือหมอบ40ได้ แต่ถ้ารอบขาขี่สบายเกาะกลุ่มความเร็ว 35 ดีที่สุด แต่เร็วกว่านี้ได้แค่เร่งแซงนิดๆ แต่เกียร์1ทำได้ดีมาก เปลี่ยนได้กับ เฟือง36ในเสือภูเขาเลย เรียกว่าเจอเนินชันๆ จอดตั้งหลักปั่นขึ้นไปเฉยเลย ควรจะจบที่จานนี้แหละ ตอนแรกตั้งใจว่าจะเอาใบจาน 48ไปให้โรงกลึงปาดฟันออก ให้กลาายเป็นบังโซ่ซะเลย จะได้ไม่เละเทะเวลาไปโดน แต่ด้วยความคันดันไปเห็นจานlitepro ใบไข่ มีบังโซ่ในตัวด้วย ขนาด 42ฟัน ดูมันลงตรงช่วงว่างระหว่างความเร็วปลาย กับแรงบิดพอดี เลยสั่งผ่านaliexpressมาซะอีกใบราคาเร้าใจซะด้วย จานหน้า 42ซี่ จานใบล่าสุด รูปไข่ เพิ่งลองใส่ดู เทียบกับจาน 39แล้ว เกียร์หนักขึ้นไป1เกียร์ เดียวเป็นอย่างไร ยังไม่ได้ลองขี่ทางไกลดู

สรุปว่า ผมไม่ได้คำนวนอัตราทดอะไร ทำไม่เป็น ใช้วิธีลองมันที่ละจานแบบนี้แหละ ถูกใจอันไหนก็เอาอันนั้น ถ้าถามว่า ช่วงอัตราทด 408% จบไหม สำหรับผม ถ้า500% อย่างอีกาจบแน่ แต่คงจบชีวิตด้วย แต่408%จบแล้ว โดยยอมลดความเร็วตีนปลายลงแค่สี่สิบพอ อายุมากแล้วเกินกว่าสี่สิบเดียวหัวใจจะวาย ทางเลือกอื่น ถ้าต้องการอัตราทดที่กว้างมาก เกิน500% ในราคาประหยัด ผมอยากจะใช้ alfine8 กับใส่จานหน้าสองใบ น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เวลาใช้งานในเมืองก็ใช้จานใหญ่ เวลาออกทัวริ่งทางโหดๆก็เปลี่ยนมาใช้จานเล็กแทน สับจานหน้าไม่ต้องมี ใช้มือยกโซ่เอาก็ได้



No comments:

Post a Comment